เมนู

กุญชรวรรค ที่ 4


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ยอดปราชญ์ อันว่าองค์ 1 แห่งตัวปลวกนั้น เป็นไฉน
พระผู้เป็นเจ้านาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐ อุปจิกา นาม ธรรมดาว่าตัวปลวก ย่อมเอาดินมาทำเป็นจอมไว้ข้างบน ซ่อนตัวอยู่
้ข้างล่างหาอาหารกิน ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรก็ทำเครื่องบังคือความสำรวมในศีล
ปิดใจไว้แล้วเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ครั้นแล้วก็พึงแสวงหาสมณธรรมล่วงภัยได้ทั้งหมด เพราะ
เครื่องมุงเครื่องบังคือความสำรวมในศีลดุจตัวปลอกฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์อันหนึ่งแห่งตัวปลวก
ยุติด้วยคำอันพระอุปเสนเถรเจ้าวังคันตบุตรกล่าวไว้ว่า
สีลสํวรฉทนํ โยคี กตฺวาน มานสํ
อนุปลิตฺโต วิหรติ ภยา โส ปริมุจฺจติ

ความว่า พระโยคาวจรเจ้า กระทำเครื่องมุงเครื่องบังคือสำรวมในศีลปิดใจไว้ เป็นผู้ไม่
พัวพ้นด้วยกิเลส ย่อมพ้นจากภัยได้ ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระคุณเจ้าผู้เป็นปราชญ์ องค์ 2 แห่งแมวนั้นเป็นไฉนเล่า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ วิฬา-
โร นาม
ธรรมดาว่าแมว แม้จะอยู่ในระหว่างแห่งถ้ำและซอกเขา และโพรงไม้บ้านเรือน ก็ย่อม
เสาะแสวงหาแต่หนูอย่างเดียวเท่านั้น ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า แม้จะอยู่ในบ้าน
หรือในป่าหรืออยู่ในโคนไม้ ในอัพโภกาสในเรือนว่างเปล่า ก็เป็นผู้ไม่ประมาท แสวงหาโภชนะฉัน
ย่อมนึกพิจารณาถึงกายอยู่เนืองๆ เหมือนแมวแสวงหาแต่หนูอยู่ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่ง
แมวเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาว่า
แมวย่อมแสวงหาอาหารแต่ในที่ใกล้ ๆ เท่านั้น ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรก็พึง
พิจารณาแต่ความเกิดความดับในอุปทานขันธ์ทั้ง 5 เหล่านี้ว่า เบญจขันธ์คือ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นดังนี้ เบญจขันธ์เกิดด้วยเหตุดังนี้ เบญจขันธ์ดับด้วยเหตุดังนี้
เหมือนกับแมวอันหากินแต่ในที่ใกล้ ๆ ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งแมวคำรบ 2 ยุติด้วยพระ
พุทธฎีกา อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

น อิโต ทูเร ภาสิตพฺพํ ภวคฺกํ กึ กริสฺสติ
ปจฺจุปฺปานฺนมฺหิ โวกาเร สเก กายมฺหิ นิพฺพินฺทติ

มีความว่า ไม่ต้องกล่าวไปให้ไกลแต่นี่นัก ภวัคคพรหมจักทำอะไรได้ ในขันธ์ปัตยุบันนี้
แหละ พระโยคาวจรบำเพ็ญเพียรไป ก็ย่อมจะเหนื่อยหน่ายในร่างกายของตนได้ ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา องค์แห่งหนูประการ 1 นั้น เป็นไฉนเล่า
พระนาคเสนจึงถวายวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ อุนฺ-
ทุโร นาม
ธรรมดาว่าหนู เมื่อเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้ ย่อมเที่ยวมุ่งหวังแต่หาอาหารอย่างเดียว
เท่านั้น ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าเมื่อท่านจะเดินไปข้างโน้นข้างนี้ ท่านหวังแต่
โยนิโสมนสิการอย่างเดียวดุจหนูฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์อันหนึ่งแห่งหนู ยุติด้วยคำอันพระอุป-
เสนวังคันตบุตรเถรเจ้ากล่าวไว้ว่า
ธมฺมาสึสกํ กตฺวา วิหรนฺโต วิปสฺสโก
อโนลีโน วิหรติ อุปสนฺโต สทา สโต

ความว่า พระโยคาวจรเจ้าเมื่อเจริญวิปัสสนา ทำความมุ่งหวังในธรรมอยู่ เป็นผู้มีจิต
เบิกบาน มีใจสงบ มีสตินึกอยู่ทุกเมื่อดังนี้ ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระผู้เป็นเจ้านาคเสน องค์ 1 แห่งแมงป่องนั้น เป็นไปไฉน
พระนาคเสนจึงถวายวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ วิจฺฉิโก ธรรมดา
แมงป่องนั้น มีหางเป็นอาวุธเที่ยวชูหางไป ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าก็มีญาณเป็น
อาวุธ ท่านยกญาณขึ้นพิจารณาอยู่เสมอ ดุจแมงป่องฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์อัน 1 แห่ง
แมงป่อง ยุติด้วยคำอันพระเถรเจ้าชื่อว่าอุปเสนวังคันตบุตรกล่าวไว้ว่า
ญาณขคฺคํ คเหตฺวาน วิจรนฺโต วิปสฺสโก
ปริมุจฺจติ สพฺพภยา ทุปฺปสโห จ โส ภเว

ความว่า พระโยคาวจรเจ้า เมื่อจำเริญวิปัสสนาถือเอาพระขรรค์คือญาณเที่ยวไป
ย่อมพ้นจากภัยทั้งปวงได้ ภัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะครอบงำท่านได้นั้นยากนัก ดังนี้ ขอถวายพระพร

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระผู้เป็นเจ้านาคเสน องค์ 1 แห่งพังพอนนั้นเป็นไฉน
พระนาคเสนจึงถวายพระวิสัชนาวา มหาราช ดูรานะบพิตรประเสริฐ ธรรมดาว่าพังพอน
เมื่อมันจะเข้าไปหางู มันเอายาทาตัวของมันเสียก่อนจึงเข้าไป ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจร
เจ้า เมื่อจะเข้าไปหาโลกคือหมู่สัตว์ ผู้มากด้วยอาฆาตและความทะเลาะวิวาท และอันความ
เคืองพิโรธโกรธขึ้งครอบงำสันดาน ท่านก็เอายาคือเมตตาทาตัวท่านแล้วดับความโกรธของเขา
ให้หายไปหมด เหมือนกับพังพอนฉะนั้น นี่แหละเป็นองค์อัน 1 แห่งพังพอน ยุติด้วยคำอันพระ
ธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า
ตสฺมา สตํ ปเรสํปิ กาตพฺพา สพฺพนุทยา
เมตฺตจิตฺเตน จริตพฺพํ เอตํ พุทฺธานสาสนั

ความว่า เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรทำความเอ็นดูทั้งปวงแม้แต่คนอื่นตั้งร้อยขึ้นไป
และต้องเป็นผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตาเที่ยวไป อันนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชาเฉลิมปราชญ์ องค์ 2 แห่งสุนัขจิ้งจอกนั้นเป็นไฉน
พระผู้เป็นเจ้านาคเสนจึงถวายวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐธรรมดาสุนัขจิ้งจอกได้อาหารไม่ว่าอย่างใด ๆ ไม่มีความเกลียดชัง ย่อมกลืนกินพอ
แก่ความต้องการ "ยถา" มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าเมื่อท่านได้โภชนะอย่างใด ๆ แล้ว ท่าน
ไม่มีความเกลียดชัง ท่านฉันพอให้สรีระเป็นอยู่หรือพอเลี้ยงสรีระเท่านั้น เหมือนกันสุนัขจิ้งจอก
ไม่เลือกอาหารฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งสุนัขจิ้งจอกเป็นปฐม สมด้วยคำอันพระมหากัสสป-
เถรเจ้ากล่าวไว้ว่า
เสนาสนมฺหา โอรุยฺห คามํ ปิณฺฑทาย ปาวิสึ
ภุญฺชนฺตํ ปุริสํ กุฏฺฐึ สกฺกจฺจนฺตํ อุปฏฺฐหึ เ
ป็นอาทิ
มีความว่า ข้าพเจ้าลงจากเสนาสนะแล้ว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต ได้บำรุงชายคนหนึ่ง ผู้
เป็นขี้เรื้อนกำลังบริโภคอยู่โดยเคารพ เข้าได้น้อมคำข้างด้วยมืออันเปื่อยเน่าถวายเรา เมื่อเขา
ยกคำข้าวขึ้น นิ้วมือของเขาได้ขาดตกลงในที่นั้น เราอาศัยความทำไว้ในใจเป็นเค้ามูล ฉันคำข้าว
นั้นได้ เมื่อเรากำลังฉันอยู่นั้น จะได้มีความเกลียดชังหามิได้ ดังนี้ ขอถวายพระพร

ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาสุนัข
จิ้งจอก เมื่อได้อาหารมาแล้วย่อมไม่เลือกว่าดีหรือเลวย่อมกินได้ทั้งสิ้น ยถา มีครุวนาฉันใด
พระโยคาวจรเจ้าเมื่อได้โภชนะแล้ว ท่านไม่เลือกว่าดี หรือเลว บริบูรณ์หรือไม่บริบูรณ์ก็ตาม
ท่านยินดีตามมีตามได้ เหมือนสุนัขจิ้งจอกฉันนั้น นี่แหละองค์แห่งสุนัขจิ้งจอกคำรบ 2 ยุติ
ด้วยคำอันพระเถรเจ้าชื่อว่าอุปเสนวังคันตบุตรกล่าวไว้ว่า
สกจิตฺตํ ทมยมาเนน อิตรีตเรน สนฺตุเส
ลูเขนปิ จ สนฺตุสฺเส นาญฺญํ ปตฺเถ รสํ พหุํ
รเสสุ อนุคิทฺธสฺส ฌาเน น รมตี มโน
อิตรีตเรน สนฺตุฏฺฐี สามญฺญํ ปริปูรติ

ความว่า ภิกษุเมื่อทรมานจิตของตน ต้องเป็นผู้สันโดษด้วยของตามมีตามได้ และ
สันโดษ ยินดีแม้ด้วยของเศร้าหมอง ไม่พึงปรารถนารสอย่างอื่น ๆ ให้มากนัก ใจของบุคคล
ผู้กำหนัดในรสทั้งหลาย ย่อมไม่ยินดีในฌาน ความสันโดษตามมีตามได้ ย่อมยังสามัญคุณให้
เต็มบริบูรณ์ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถาว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้เจริญ องค์ 3 แห่งมฤคนั้นเป็นไฉน
พระผู้เป็นเจ้านาคเสนจึงถวายวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐ มิโค นาม ธรรมดาว่ามฤคย่อมเที่ยวไปในป่าแต่กลางวัน ครั้นถึงกลางคืนย่อมอยู่ใน
อัพโภกาสที่แจ้ง ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าท่านก็อยู่ในป่าแต่กลางวัน ครั้นถึงเวลา
กลางคืน ท่านย่อมอยู่ในอัพโภกาสที่แจ้ง เหมือนมฤคฉันนั้น นี่เป็นองค์แห่งมฤคเป็นปฐม
สมด้วยพระพุทธฎีกาอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่พระสารีบุตรไว้ว่า
โส โข อหํ สารีปุตฺต ยา ตา รตฺติโย สีตา เหมนฺติกา อนฺตรฏฺฐกา เป็นต้น
ความว่า ดูกรสารีบุตร เวลากลางคืนที่เป็นไปในระหว่างเหมันตฤดูเป็นสมัยน้ำค้างตก
ถึงฤดูเช่นนั้น ตกกลางคืนเราอยู่ในอัพโภกาส เวลากลางวันอยู่ในราวป่า ครั้นถึงเดือนท้ายแห่ง
ฤดูร้อน เวลากลางวันเราอยู่ในอัพโภกาส ตกกลางคืนอยู่ในราวป่า ดังนี้ ขอถวายพระพร
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร มฤคย่อมหลบ
ลูกศรอันจะตกเหนือตนหลีกหนีรอดไปได้ และไม่น้อมกายเข้าไปใกล้ลูกศร ยถา มีครุวนาฉันใด

พระโยคาวจรเจ้าก็รู้จักหลบหนีกิเลสอันจะมาตกในตนได้เหมือนฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่ง
มฤคคำรบ 2
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพร ธรรมดามฤคเมื่อพบเห็น
พวกมนุษย์เข้าแล้ว ย่อมซ่อนตัวหลบอยู่ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ด้วยคิดว่าจะไม่ให้เขาเห็นตัว ยถา
มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าเมื่อพบเห็นความทะเลาะวิวาทหรือคนทุศีลคนเกียจคร้าน หรือ
อารามที่อยู่คลุกคลีกัน ท่านย่อมหลีกหนีไปเสีย ด้วยว่าจะไม่ให้เขาเห็น แม้ตัวท่านก็
ไม่อยากพบเห็นเขา เหมือนกันมฤคฉันนั้น นี้แหละเป็นองค์แห่งมฤคคำรบ 3 ยุติด้วยคำอัน
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า
มา เม กทาจิ ปาปิจฺโฉ กุสิโต หีนวีริโย
อปฺปสุโต อนาจาโร อสมฺมโต กตฺถจิ อหุ

ความว่า คนมักมาก เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม ไม่ใช่เป็นคนสดับ ปราศจาก
มารยาท ไม่ใช่เป็นคนสงบระงับ อย่าได้มีแก่เรา คือว่าเราอย่าได้พบเห็นเขา แม้ในที่ไหน ๆ ใน
กาลบางครั้งบางคราวดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ องค์ 4 แห่งโคนั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนจึงถวายวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ธรรมดาว่าโค ย่อมไม่ละคอกเป็นที่อยู่ของตน ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็จะได้ละ
โอกาสแห่งตนหามิได้ ย่อมพิจารณาอยู่เนือง ๆ ว่าร่างกายของเรานี้ไม่เที่ยง และมีอันเหลว
แหลกแตกทำลายกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา ดังนี้อยู่เสมอ เหมือนโคฉันนั้น นี่แหละเป็น
องค์แห่งโคเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาว่าโค
ย่อมแบกแต่แอกไว้ ลากเข็นแอกไปโดยความทุกข์บ้างสุขบ้าง ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจร
เจ้า ก็สมาทานพรหมจรรย์ไว้ ประพฤติพรตพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ตลอดถึงสิ้นชีพโดย
ทุกข์บ้างสุขบ้าง เหมือนโคฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งโคคำรบ 2
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ธรรมดาว่าโคเมื่อกินหญ้าตามความพอใจอิ่มหนำแล้วก็ดื่มกินซึ่งน้ำ ยถา มีครุวนาฉันใด พระ
โยคาวจรเจ้า เมื่อรับคำสั่งสอนของอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ด้วยความพอใจและความรักใคร่
เลื่อมใสแล้ว ก็ตั้งใจฟังโดยเคารพดุจโคฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งโค คำรบ 3

ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาว่าโค
เมื่อเจ้าของฝึกหัดให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมทำตามทุกอย่าง ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคา-
วจรเจ้า ท่านก็ตั้งใจรับโอวาทานุสาสน์ขอพระเถระหรือภิกษุผู้ใหม่และปานกลาง แม้แห่ง
คฤหัสถ์หรืออุบาสกผู้เป็นกัลยาณชน ใครให้โอวาทแก่ท่าน ท่านก็ตั้งในรับเหมือนโคฉันนั้น
นี่แหละเป็นองค์แห่งโค คำรบ 4 ยุติด้วยคำอันพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า
ตทหุปพฺพชิโต สนฺโต ชาติยา สตฺตวสฺสิโก
โสปิ มํ อนุสาเสนยฺย สมฺปติจฺเฉยฺย มตฺถเก
เป็นอาทิ
มีความว่า ถึงผู้ที่มีสันดานสงบระงับอันบวชในวันนั้น มีพรรษายุกาลได้ 7 ปีแต่เกิดมา
จะพึงสั่งสอนเรา เราก็ตั้งในรับไปใส่เศียรเกล้า เราพบเห็นท่านแล้ว พึงเข้าไปตั้งความพอใจและ
ความรักใคร่ในท่านเป็นอย่างแรงกล้า และพังนมัสการโดยเคารพเนือง ๆ โดยฐานเป็นอุปัชฌาย์
อาจารย์ ดังนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า องค์ 2 แห่งสุกรเป็นไฉน คืออะไรบ้าง
พระนาคเสนจึงถวายวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาสุกร
เมื่อถึงฤดูร้อนย่อมลงคลุกตัวในน้ำ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า เมื่อจิตกลัดกลุ่มงุ่น
ง่าน ก็เจริญเมตตาภาวนาอันเย็นประณีต ดุจสุกรลงคลุกตัวในน้ำฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่ง
สุกรเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ ประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐธรรมดาสุกรพบน้ำที่ไม่
มีเปือกตม ย่อมเอาจมูกดุดแผ่นดินกระทำให้เป็นแอ่งแล้วลงนอน ยถา มีครุวนาฉันใด พระ
โยคาวจรเจ้าก็เจริญกายคตาสติฝังอยู่ในใจ ห้ามอารมณ์ภายนอกมิให้ครอบงำ นอนอยู่ดังสุกร
ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งสุกร คำรบ 2 ยุติด้วยคำอันพระปิณโฑลภารทวารเถรเจ้ากล่าวไว้ว่า
กายสฺส ภาวํ ทิสฺวาน วิจินิตฺวา วิปสฺสโก
เอกากิโก อทุติโย สยติ อารมฺมณนฺตเร

มีความว่า พระโยคาวจรเจ้าผู้เจริญวิปัสสนา เห็นความเป็นความเจริญแห่งร่างกายแล้ว
ก็พิจารณาไป เป็นผู้อยู่คนเดียว ไม่มีเพื่อนเป็นที่สอง นอนอยู่ในระหว่างแห่งอารมณ์ดังนี้
ขอถวายพระพร

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระผู้เป็นเจ้านาคเสนผู้เจริญ องค์แห่งช้าง 5 ประการนั้นเป็นไฉน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาช้าง
เที่ยงไปในป่า ย่อมเอาเท้ากระชุ่นทำลายแผ่นดิน ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็
พิจารณากายทำลายกิเลสฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งช้างเป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาช้าง
ย่อมแลไปตรง ๆ ดูแต่กายของตนจะไปเหลียวแลดูทั่วไปในทิศต่าง ๆ หามิได้ ยถา มีครุวนาฉันใด
พระโยคาวจรเจ้าก็เพ่งพิจารณาแต่ร่างกาย จะได้เหลียวดูทิศน้อยทิศใหญ่หรือเบื้องบนเบื้องต่ำหา
มิได้ ทอดตาไปเพียงชั่วแอก ดังช้างฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งช้าง คำรบ 2
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาว่าช้าง
จะได้นอนอยู่ประจำแหล่งเป็นเนืองนิตย์หามิได้ เที่ยวหาอาหารได้ในที่ใดก็อยู่ในที่นั้น ยถา มี
ครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็มิได้นอนประจำแหล่งเป็นเนืองนิตย์ ไม่มีอาลัย เที่ยวบิณฑบาต
ไปพบประเทศแห่งใดเป็นที่พอใจและสมควร จะเป็นมณฑปหรือโคนไม้ ถ้ำและภูเขาก็ตาม
ย่อมเข้าอาศัยอยู่ในที่นั้น จะได้ทำความปรารถนาอาลัยมั่นคงหามิได้ ดุจช้างฉันนั้น นี่เป็นองค์
แห่งช้าง คำรบ 3
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมาภาร ธรรมดาว่า
ช้างจะลงน้ำ ย่อมลงสู่สระประทุมอันกว้างใหญ่ มีน้ำใสสะอาดดาดาษไปด้วยบัว 5 ประการ
และคะนองลำพองเล่นตามสบาย ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็ลงสู่สระ คือ พระ
มหาสติปัฏฐานทั้ง 4 ประการ อันเต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำอันเย็นใสสะอาดไม่ขุ่นมัว กล่าวคือพระ
ธรรมอันประเสริฐดาดาษไปด้วยประทุมชาติ คือพระวิมุตติ พิจารณาจำแนกสังขารด้วยญาณ
เล่นอยู่ด้วยพระสติปัฏฐานนั้นตามสบาย ดุจช้างฉันนั้น นี่เป็นองค์แห่งช้าง คำรบ 4
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาช้าง
จะยกเท้าขึ้นก็มีสติ จะเหยียบลงก็มีสติ มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า จะยกเท้าขึ้นหรือเหยียบ
ลงก็มีสติปชัญญะ ก้าวไปถอยกลับก็มีสติสัมปชัญญะ งอเข้าเหยียดออกก็มีสติสัมปชัญญะ
มีสติสัปชัญญะอยู่ทุกขณะ จะได้ละวางเสียหามิได้ นี่แหละเป็นองค์แห่งช้างคำรบ 5 ยุติด้วย
กระแสพระธรรมเทศนา ที่พระมหากรุณาตรัสไว้ในสังยุตตนิกายอันประเสริฐว่า

กาเยน สํวโร สาธุ สาธุ วาจาย สํวโร
มนสา สํวโร สาธุ สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
สพฺพตฺถ สํวโร ลชฺชี รกฺขิโตติ ปวุจฺจติ

มีความว่า การสำรวมด้วยกายวาจาใจเป็นความดี สำรวมได้ทั่วไปก็เป็นความดี พระ
โยคาวจรเจ้า ผู้มีความละอายสำรวมทั่วไป บัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นผู้รักษา ดังนี้ ขอถวายพระพร
กุญชรวรรค ที่ 4 จบเพียงนี้
ในที่สุดวรรคนี้ พระคันถรวจนาจารย์เจ้า ผูกอุทานคาถากล่าวหัวข้อบทมาติกาที่แสดง
มาข้างต้นนั้นไว้ว่า
อุปจฺจิกา วิฬาโร จ อุนฺทุโร วิจฺฉิเกน จ
นงฺกุโล สิงฺคาโล มิโค วราโห โครูปหตฺถินา

มีใจความว่า องค์แห่งปลวก องค์แห่งแมว องค์แห่งหนู องค์แห่งแมงป่อง องค์แห่งพัง-
พอน องค์แห่งสุนัขจิ้งจอก องค์แห่งเนื้อ องค์แห่งสุกร องค์แห่งโค องค์แห่งช้าง เหล่านี้ ท่านจัด
เป็นวรรคอันหนึ่ง ดังนี้แล

สีหวรรคที่ 5


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงตรัสถามต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระผู้
เป็นเจ้านาคเสน องค์แห่งราชสีห์ 7 ประการนั้นเป็นไฉน คือสิ่งไรบ้าง
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ธรรมดาว่าราชสีห์เหล่าปัณฑุ ย่อมเป็นสัตว์ขาวบริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากมลทิน ยถา มีครุวนา
ฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็เป็นผู้มีสันดานขาวบริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากมลทิน ไม่มีความรังเกียจ
ต่อความประพฤติปฏิบัติ ดุจราชสีห์อันขาวบริสุทธิ์ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งราชสีห์
เป็นปฐม
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ธรรมดาว่า
ราชสีห์ย่อมเที่ยวไปด้วยเท้า 4 ประกอบด้วยลีลาศอันงดงาม ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจร
เจ้า ก็เที่ยวไปด้วยอิทธิบาททั้ง 4 ประการ ดุจราชสีห์ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งราชสีห์ คำรบ 2
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้มีศักดิ์เป็นอัครกษัตริย์อัน
ประเสริฐ ธรรมดาว่าราชสีห์ ย่อมมีรูปงามและมีสร้อยที่คอสวยสะอาดรุ่งเรืองรูจี ยถา มีครุวนา
ฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็มีรูปงามและมีสร้อยคอคือศีลรุ่งเรืองรูจีเหมือนฉันนั้น นี่แหละ
เป็นองค์แห่งราชสีห์ คำรบ 3
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้มีศักดิ์เป็นอัครกษัตริย์
อันประเสริฐ ธรรมดาว่าราชสีห์ แม้จะต้องเสียชีวิตถึงแก่ความตาย ก็มิได้ย่อมอ่อนน้อม
แก่สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมยอมตาย จะได้เสียดายชีวิตหามิได้ ยถา มีครุวนาฉันใด พระ
โยคาวจรเจ้า ก็ย่อมเสียสละชีวิต จะได้ประจบคฤหัสถ์เป็นกูลทูสกะหาปัจจัย 4 คือ จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัชเลี้ยงชีวิตหามิได้ ดุจราชสีห์อันสู้สละชีวิตฉันนั้น นี่แหละ
เป็นองค์แห่งราชสีห์ คำรบ 4
ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้เป็นอัครกษัตริย์อัน
ประเสริฐ ธรรมดาว่าราชสีห์ย่อมหาอาหารไปโดยลำดับ ได้อาหารในที่ใด ก็บริโภคในที่นั้น พอ
แก่ประโยชน์ จะได้เลือกเอาแต่เนื้อที่ดี ๆ นั้นหามิได้ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้า ก็
เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอก จะได้เลือกตระกูลหรือเลือกโภชนาหารหามิได้ แสวงหาได้
ในที่ใดก็บริโภคในที่นั้น ด้วยความประสงค์จะดำรงสรีระร่างกายให้เป็นไปเท่านั้น และจะได้
เลือกว่าโภชนะประเสริฐหรือไม่ประเสริฐก็หามิได้ ดุจราชสีห์ฉันนั้น นี่แหละเป็นองค์แห่งราชสีห์
คำรบ 5